ช่วงนี้เห็นผู้คนรอบตัวได้รับข้อความชวนเชื่อผ่านการคลิกลิงก์มาเยอะพอสมควร เป็นไปได้ว่าพวกมิจฉาชีพจะกลับมาใช้กลยยุทธ์หลอกเอาเงินจากการคลิกลิงก์ในข้อความกันอีกแล้ว ผ่านการใช้เบอร์แปลกที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่านั่นเป็นเบอรืของธุรกิจใด ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อบริษัทหรือองค์กรแฝงมาด้วยเช่น ธนาคาร K ยื่นสิทธิ์กู้ให้ท่าน 160,000 บาท คลิก: (ลิงก์หลอก) หรือคุณได้รับคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า..... สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (ลิงก์หลอก)
อะไรทำให้เราคิดว่าข้อความเหล่านี้คือมิจฉาชีพ?
-อย่างแรกคือเบอร์ ถ้าขึ้นเป็นเบอร์แปลก ตัวเลขล้วน ๆ ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจจะใช่ เพราะส่วนใหญ่หากเป็นเบอร์ของธนาคาร บริษัท องค์กรหรือผู้ให้บริการเครือข่ายเวลาส่งข้อความหาผู้รับจะขึ้นชื่อแทนเบอร์
-อ่านข้อความ ถ้าข้อความแจกเงิน หรือเพิ่มวงเงินกู้ทำสินเชื่อโดยที่เราอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำเรื่องขอกู้ในขณะนั้นให้คิดไว้เลยว่านี่คือมิจฉาชีพ อย่ากดลิงก์เด็ดขาด
-ตรวจสอบนามสกุลโดเมนของเว็บไซต์อย่างรอบคอบ แล้วไปพิมพ์หาว่า บริษัทหรือองค์กรที่ในข้อความเอ่ยถึงได้ใช้ลิงก์เดียวกันไหม และถ้าหากลิงก์ใช้โดเมนที่ลงท้าย (หลัง . ) ดังต่อไปนี้ปักธงว่ามิจฉาชีพชัวร์
1. มิจฉาชีพมักจะใช้นามสกุลโดเมนที่คล้ายคลึงกับนามสกุลโดเมนของเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เช่น
- .com.tr กรณีนี้ใช้ .com เพื่อให้คล้ายกับเว็บมีชื่อเสียงที่ใช้กันปกติแล้วจะเติมพวกชื่อประเทศต่อท้าย
- .net บางรายใช้เพื่อให้ดูเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. มิจฉาชีพใช้นามสกุลโดเมนที่แปลกใหม่หรือไม่คุ้นเคยมักใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่มีชื่อเสียงหรือเว็บไซต์ที่ไม่เป็นทางการ โดยส่วนมิจฉาชีพจะใช้กับชื่อของบริษัท เช่น .xyz / .club / .me และ .cc
หากคลิกลิงก์หลอกลวงโดยไม่ได้ตั้งใจ ให้รีบปิดหน้าต่างหรือแท็บทันที และเปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ