จดโดเมน คือ การจดชื่อเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์ ต้องจดโดเมน เพื่อให้มีที่อยู่ (URL) บนโลกออนไลน์ นำไปสร้างเว็บไซต์ของคุณได้ หากคุณไม่จดโดเมน เว็บไซต์ของคุณจะไม่มีชื่อโดเมน พอไม่มีโดเมนคุณจะไม่ตัวตนบนโลกออนไลน์ ไม่สามารถแชร์หน้าธุรกิจบนออนไลน์ของคุณได้
ค่าบริการจดโดเมน คือ ค่าบริการที่ถูกเรียกเก็บเงินเป็นรายปี ก่อนที่ผู้ซื้อจะได้รับบริการ ซึ่งค่าบริการจดโดเมนจะมีความแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน โดยราคาจะขึ้นอยู่กับส่วนขยายที่ผู้ซื้อเลือกใช้ และระยะเวลาของโดเมน อย่างเช่น ANET ให้บริการจดโดเมน .com อยู่ที่ปีละ 399 บาท ส่วนโดเมนอย่าง .co.th มีราคาอยู่ที่ปีละ 800 บาท เป็นต้น จากราคาข้างต้นจะเห็นได้ว่าราคาค่าบริการจดโดเมนจะแตกต่างกันไปตามส่วนขยายเมน หรือนามสกุลโดเมนนั่นเอง
ค่าบริการจดโดเมน สามารถนำไปหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่
บริการจดโดเมน เป็นธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง เงินจากการจดโดเมน หรือทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นกัน โดยผู้ซื้อมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 3/2 คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ที่กำหนดไว้ว่า
“ให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ผู้รับเงิน ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุในข้อ 2 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0”
อย่างไรก็ตาม การหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีนี้ ผู้ซื้อ (หรือผู้จ่ายเงิน) ต้องเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด องค์กร หรือหน่วยงานราชการ และค่าบริการก่อนรวม VAT ต้องไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท โดยจะต้องส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการจดโดเมนภายใน 60 วัน หลังจากวันที่ชำระเงิน ดังนั้นค่าบริการจดโดเมน จึงสามารถนำไปหักภาษีได้ หากเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด และมีค่าบริการมากกว่าหนึ่งพันบาท
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Domain, Domain Name, โดเมน, ต่ออายุโดเมน, จดโดเมน, หักภาษี ณ ที่จ่าย, ภาษี, สรรพากร, vat