ประเภทของ SSL ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
Date : 17/07/2019
สำหรับเว็บไซต์ที่ใช้บริการ SSL จะเรียกผ่าน URL บน Browser ต่าง ๆ ด้วย https://
สำหรับเว็บไซต์ที่ใช้บริการ SSL จะเรียกผ่าน URL บน Browser ต่าง ๆ ด้วย https:// และมีรูปกุญแจแสดงอยู่ในส่วนของ Address Bar ซึ่งการแสดงข้อมูลการจด SSL อาจจะแตกต่างกันไปตาม Brand และตามลักษณะของเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันระบบ SSL ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้งหมด 3 ประเภท (เอารูปกุญแจ หรือ แถบสีเขียวมาแนบเป็นภาพด้วยก็ได้)
- Dedicated SSL
คือ รูปแบบ SSL ที่นิยมใช้งาน และมีความน่าเชื่อถือสูงสุด เพราะมีขั้นตอนการตรวจสอบตัวตนขององค์กรผู้ขอใบรับรอง SSL ก่อนจะได้รับการอนุมัติใบรับรอง SSL โดย CA (Certificate Authority) จากต่างประเทศ
สำหรับใบรับรอง SSL Certificate ประเภทนี้ จะต้องเสียค่าบริการซื้อใบรับรอง SSL Certificate จากผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตและการรับรองจาก CA โดยตรง ซึ่งจะต้องติดตั้งบน Dedicated IP Address และระบุให้ชัดเจนว่า ชื่อเว็บไซต์ เป็นอะไร เช่น https://www.domain.com หรือ https://domain.com หรือ https://secure.domain.com ซึ่งทั้ง 3 URL จะถือเป็นคนละชื่อกัน หากต้องการเรียกใช้ https ทั้ง 3 ชื่อจะต้องซื้อ SSL Certificate ทั้ง 3 รายการ หากมีความต้องการใช้ระบบ SSL กับโดเมนจำนวนมาก SSL ชนิดนี้อาจไม่เหมาะสม
- Shared SSL
คือ รูปแบบการติดตั้ง SSL ที่นิยมใช้ในกลุ่มของผู้ให้บริการ Web hosting เพื่อเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้า และเป็นทางเลือกสำหรับกลุ่มลุกค้าที่ไม่ต้องการซื้อ SSL Certificate เอง โดยสามารถเรียกผ่าน URL ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ https://secure.yourHostingProvider.tld/~username ข้อจำกัดการใช้ Shared SSL คือจะไม่สามารถเรียก https:// ผ่านชื่อโดเมนเนมของลูกค้าเองได้
- Seft-Signed Certificate
เป็นลักษณะการติดตั้ง SSL โดยไม่ต้องเสียค่าบริการสั่งซื้อ SSL Certificate จาก CA มาติดตั้งเช่นเดียวกับระบบ Shared SSL แต่ผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์จะทำการสร้าง SSL Certificate file ขึ้นมาเอง โดยไม่ผ่านการรับรองของ CA
เมื่อมีการเรียกเข้าสู่เว็บไซต์ผ่าน Browser ต่าง ๆ จะพบข้อความเตือนก่อนเข้าสู่เว็บไซต์ในลักษณะ Security Warning ขึ้นมา ให้ผู้เข้าเว็ปไซต์ Click Accept ยืนยันตอบรับ Certificate ดังกล่าวก่อนเข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ ข้อจำกัดของการใช้ Self-Signed Certificate คือ ผู้พัฒนา Browser เช่น IE, FireFox, Opera, Google Chrome ไม่ให้ความเชื่อถือ เพราะไม่ได้รับการรับรอง SSL จาก CA นั่นเอง จึงมีการแสดงข้อความแจ้งเตือน ก่อนเข้าสู่เว็บไซต์ที่มีการใช้ Self-Signed Certificate ทุกครั้ง